วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความรู้หลักการบริหารจัดการ

 ความรู้หลักการบริหารจัดการ
          การ บริหารงาน (Administration) แตกต่างกับ Management
          การบริหารงาน คือการดำเนินการในกิจการต่าง ๆ มีหน่วยงานหรือองค์การ ดำเนินการอำนวยงานให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลงานตามที่ต้องการ
          นักบริหาร หมายถึง ผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการและดำเนินการ หรือผู้รับผิดชอบต่อการดำเนินงาน หรือผู้วินิจฉัยชี้ขาดและสั่งงาน หรือผู้กำหนดแนวทางปฏิบัติงานขององค์กร
          การบริหารงาน เป็นทั้งศาสตร์และศิลป
          การบริหารรัฐกิจ เหมือนกับ การบริหารธุรกิจ ในเรื่องของกระบวนการปฏิบัติงาน แต่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานไม่เหมือนกัน
          กระบวนการบริหาร Gulic และ Unwick ได้กล่าวถึงกระบวนการบริหาร ซึ่งเรียกว่า POSDCORB ในหนังสือ Paper on the Sciences of Administration (1957) ซึ่งประกอบด้วย
          P        =       Planning                   การวางแผน
          O        =        Organizing                 การจัดองค์การ
          S        =        Staffing          การสรรหาคนเข้าทำงาน
          D        =        Directing                   การอำนวยการ
          CO      =        Coordinating              การประสานงาน
          R        =        Reporting                  การรายงาน
          B        =        Budgeting                 การงบประมาณ
          ทรัพยากรทางการบริหาร มีอยู่ 4 ประการ คือ คน (Men) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ (Material) การ จัดการ (Management) หรือเรียกสั้นๆ ว่า 4M’s
          William T Greenwood เห็นว่าทรัพยากรบริหาร ควรจะมีอย่างน้อย 7 ประการ คือ คน (Men) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ (Material) อำนาจ หน้าที่ (Authority)   เวลา (Time) กำลังใจในการทำงาน (Will) ความ สะดวกต่าง ๆ (Facilities)
          ปัจจัย ในการบริหารธุรกิจ 6 ประการ คือ คน (Men) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ (Material) วิธีการ (Method) ตลาด (Market)  เครื่องจักร (Machine)
          ประสิทธิภาพในการบริหารงาน หมายถึงความสามารถของการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบาย ภายใต้เงื่อนไขทางทรัพยากรที่มีอยู่
          เทคนิคการบริหารงาน สื่อความเข้าใจ (ด้วยถ้อยคำภาษา เช่น พูด เขียน หรือไม่ใช้ถ้อยคำ เช่น เครื่องหมายและสัญญาณ) มีการจูงใจ การวินิจฉัยสั่งการ (โดยสามัญสำนึกหรือเหตุผล)
          กระบวนการวินิจฉัยสั่งการ
          -พิจารณาปัญหา                                                POLICY   =   นโยบาย
          -เลือก แนวทางแก้ไขปัญหา                                    AUTHORITY = อำนาจหน้าที่
          -วิเคราะห์แนวทางแก้ไข
          -พิจารณาผลดีผลเสีย
          -ดำเนินการและวิธีปฏิบัติ
          ข้อจำกัดในการบริหาร ประกอบด้วย ฐานะและสภาพภูมิศาสตร์ ประชากร ทรัพยากร ลักษณะนิสัยและความสามารถของคน ความเชื่อถือและศรัทธา ขนบธรรมเนียมและประเพณี

นโยบายสาธารณะ

หมายถึง แนวทางที่รัฐบาลกำหนดว่าจะทำหรือไม่กระทำ และได้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติในสิ่งนั้น ๆ ด้วย
          ทฤษฎีที่เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
          1.ทฤษฎีสถาบัน (Institutionalism) ทฤษฎี นี้บอกว่า นโยบายสาธารณะนั้นเป็นผลมาจากสถาบันการปกครองของรัฐ
          2.ทฤษฎี กลุ่ม (Group Theory) ทฤษฎี นี้กล่าวว่า นโยบายสาธารณะเป็นผลมาจากการต่อสู้หรือการประนีประนอมระหว่างกลุ่มผล ประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคม
          3.ทฤษฎีระบบ (System Theory) ของ Devid Easton ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ระบบการเมืองเป็นผลของกระบวนการ ซึ่งมี Input  คือ Demand และ Support   ต่าง ๆ เข้าไปใน  Conversion Process
แล้วจะได้ Output  แต่อย่างไรก็ตาม จะมีสภาพแวดล้อม  (Environment) อยู่ล้อมรอบเพื่อทำให้  Feed back ออกมาเป็น Input ใหม่
          4.ทฤษฎีชนชั้นนำ (Elite Theory) ทฤษฎีนี้มองว่าชนชั้นนำ เท่านั้น เป็นผู้กำหนดนโยบายเพราะประชาชนทั่วไปไม่สนใจ และไม่มีความรู้เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
          รูปแบบการตัดสินใจวินิจฉัยนโยบายสาธารณะ มี 3 รูปแบบ คือ
          1.แบบใช้หลักสมเหตุสมผล เป็นการตัดสินใจวินิจฉัยโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
          2.แบบใช้หลักส่วนเพิ่มขึ้น มีแนวคิดว่า การตัดสินใจวินิจฉัยโดยทั่วไปมักมีลักษณะอนุรักษ์นิยม โดยต้องอาศัยการตัดสินวินิจฉัยครั้งก่อน ๆ เป็นหลักยึดอยู่ การตัดสินใจครั้งใหม่จึงต้องเป็นเรื่องของการปรับปรุงแก้ไขการตัดสินใจที่ เคยทำมาก่อน
          3.แบบใช้หลักผสมกลั่นกรอง เป็นการตัดสินวินิจฉัยโดยการผสมกลั่นกรองระหว่างลักษณะของการใช้หลักสมเหตุ สมผลกับใช้หลักส่วนเพิ่ม
          แนว นโยบายสาธารณะจะปรากฏในเอกสาร รัฐธรรมนูญ

แนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการเมือง

 

 แนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการเมือง

เราอาจเคยสงสัยและตั้งคำถามว่า เหตุใดมนุษย์จึงต้องปกครองกัน ทำไมไม่ปล่อยให้มนุษย์อยู่กันเอง กระทั่งอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า การเมืองกับการปกครองเป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งหลายคนจำเพาะในกลุ่มผู้ที่ขาดความสนใจต่อความเป็นมาเป็นมาในกิจการทาง การเมืองอาจฟังดูไม่กระจ่างนัก ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวประการใด
คำตอบต่อความสงสัยข้อแรกนั้นโยงใยไปถึงความข้อต่อมากล่าวคือ มนุษย์นั้นโดยธรรมชาติเป็นสัตว์สังคม ที่ต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่คณะ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกัน หากมิได้กำหนดกติกาอะไรสักอย่างขึ้นมากำกับการอยู่รวมกันของมนุษย์แล้วนั้น มนุษย์ด้วยกันเองยังเชื่อว่าน่าจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายขึ้นในสังคมและ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ เนื่องจากโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้น ป่าเถื่อน ขลาดกลัวและไม่เป็นระเบียบดังที่ โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) นักปรัชญาการเมืองโบราณ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1588-1679 ได้เคยกล่าวไว้ในผลงานปรัชญาการเมืองเลื่องชื่อเรื่อง “Leviathan” ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1651 ว่า เมื่อมนุษย์จำต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมภายใต้กติกาแล้ว ก็จำเป็นอยู่ในตัวเองที่จะต้องกำหนดตัวผู้นำมาทำหน้าที่ควบคุมดูแลให้สังคม หรือการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย เช่นที่กล่าวมาเราคงพอจะทราบบ้างแล้วว่าเหตุใดจึงเกิดมีระบบการปกครองขึ้น
และโดยนัยที่มนุษย์จำต้องปกครองกันนั้น หากเกิดปัญหาขึ้นในระหว่างมนุษย์ด้วยกัน หรือการจะทำให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นไป หลีกเลี่ยงมิได้เสียที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจทางการเมือง อันมีความหมายและบริบทที่สะท้อนออกมาในเรื่องของการใช้อำนาจเพื่อการปกครอง ประชาชน การเมืองการปกครองซึ่งเป็นสภาพการณ์และผลที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (Eulau 1963, 3) จึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์อย่างมิอาจปฏิเสธได้ ซึ่งก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้ใดก็ตาม จำเป็นต้องให้ความสนใจกับเรื่องการเมืองการปกครองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจากสิ่งใดที่ออกมาจากสถาบันทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำหน้าที่ในการตรากฎหมายต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้ มาจากรัฐบาลในรูปของนโยบายสาธารณะ (Public Policies) โครงการพัฒนา (Developmental Program) และงานต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นหรือดำเนินไปโดยภาคราชการ รวมไปถึงการตัดสินคดีความหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลกับรัฐ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องที่การเมืองส่งผลกระทบต่อทุกคนอย่างที่ไม่อาจมอง ข้ามไปได้
โดยบริบทดังกล่าวการศึกษาเรื่องการเมืองและการปกครองของประเทศ จึงเป็นสิ่งที่ถูกบรรจุอยู่ในแทบทุกสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษาให้นักศึกษาได้ ร่ำเรียน ทำความรู้ความเข้าใจในฐานะที่อย่างน้อยก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม และเป็นเรื่องภาคราชการทั้งหลายต่างรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป ภายใต้ความมุ่งประสงค์ที่จะหยั่งรากประชาธิปไตยในสังคมไทย และหากได้มองย้อนไปถึงแนวคิดของนักปรัชญาการเมืองโบราณเช่น อริสโตเติล (Aristotle) ปรัชญาเมธีชาวกรีกโบราณ ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์” ผู้กล่าวไว้ว่า มนุษย์ตามธรรมชาติเป็นสัตว์การเมืองต้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือชุมชน อันแตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่น ๆ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ด้วยสัญชาตญาณเป็นหลัก หากแต่มนุษย์ นอกจากจะอยู่ด้วยสัญชาตญาณแล้ว ยังมีเป้าหมายอยู่ร่วมกันอีกด้วย ดังนั้นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จึงมิใช่มีชีวิตอยู่ไปเพียงวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น หากแต่เป็นการอยู่ร่วมกันเพื่อจะให้มีชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย เราก็จะมองเห็นภาพของการเมืองในแง่หนึ่งว่าการเมืองนั้นก็คือ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในชุมชนหรือสังคมเพื่อให้มีความสงบสุข

ความ หมายของการเมือง

ในทางทฤษฎีรัฐศาสตร์ มุมมองที่ใช้พิจารณาการเมืองหรือพูดเป็นศัพท์ทางวิชาการก็คือแนวการศึกษา วิเคราะห์การเมือง (Approach to Political Analysis) ก็ย่อมแตกต่างกันออกไปบ้างตามแต่ใครจะเห็นว่าแนวการมองการเมืองนั้นเป็นสิ่ง ที่ใกล้เคียงต่อการอธิบายความเป็นการเมืองได้มากที่สุด โดยคำว่า “การเมือง” นี้ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียด ตามแต่จะใช้ตัวแบบใดในการศึกษาวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมือง และด้วยตัวแบบที่เป็นกรอบในการศึกษาวิเคราะห์นี้ จะยังผลให้กรอบการมองคำว่าการเมืองต่างกันไป ในขณะที่สาระสำคัญของคำจำกัดความเป็นไปในทำนองเดียวกันกล่าวคือเป็นเรื่อง ของการใช้อำนาจแบบสองทางระหว่างฝ่ายที่เป็นผู้ปกครอง (Rulers) และฝ่ายผู้ถูกปกครอง (Ruled) ดังจะได้ยกมากล่าวถึง ซึ่งสำหรับผู้ศึกษารัฐศาสตร์มือใหม่แล้ว การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่าการเมืองนั้น จึงดูจะเป็นเรื่องที่สร้างความสับสนอยู่มิใช่น้อย เนื่องมาจากความหมายของการเมืองที่ปรากฏอยู่ในตำราเล่มต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นเผยแพร่นั้นมีอยู่หลากหลายต่างกันไปตามความเจตนารมณ์และมุ่ง ประสงค์ในการนำความหมายของการเมืองเพื่อไปอธิบายปรากฏการณ์ของผู้ให้คำนิยาม ความหมายของการเมือง ดังได้กล่าวไปแล้ว
คำจำกัดความของการเมืองที่ชัดเจนและรัดกุมมากที่สุดโดยนัยที่ได้กล่าวไป นี้ พิจารณาได้จากทัศนะของชัยอนันต์ สมุทวณิช (2517, 61) ที่ว่า การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปของรัฐและการจัดระเบียบความสัมพันธ์ภายในรัฐ ระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง โดยเมื่อสังคมมนุษย์ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐบาล คนเราจึงต้องแบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ ๆ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่บังคับกับผู้ถูกบังคับเสมอ
ผู้เรียบเรียงได้รวบรวมและประมวลคำนิยามหรือความหมายของคำว่าการเมือง มานำเสนอโดยจำแนกได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มแรก การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ โดยเป็นการต่อสู้กันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและอิทธิพลในการบริหารกิจการบ้าน เมือง โดยคำนิยามของการเมืองในเชิงอำนาจที่น่าสนใจอันหนึ่ง ที่ได้ให้คำอธิบายที่ชัดเจนมากได้แก่นิยามของ เพนนอคและสมิธ (Pennock and Smith 1964, 9) ที่กล่าวว่า การเมือง หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับอำนาจ สถาบันและองค์กรในสังคม ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีอำนาจเด็ดขาดครอบคลุมสังคมนั้น ในการสถาปนาและทำนุรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม มีอำนาจในการทำให้จุดประสงค์ร่วมกันของสมาชิกในสังคมได้บังเกิดผลขึ้นมา และมีอำนาจในการประนีประนอมความคิดเห็นที่แตกต่างกันของคนในสังคม
อีกหนึ่งคำนิยามการเมืองที่ถือได้ว่าครอบคลุมและช่วยให้เห็นภาพความ เกี่ยวพันของการเมืองกับบุคคลในสังคมได้แก่ ณรงค์ สินสวัสดิ์ (2539, 3) ที่กล่าวว่า การเมืองเป็นการต่อสู้ช่วงชิง การรักษาไว้และการใช้อำนาจทางการเมือง โดยที่อำนาจทางการเมืองหมายถึง อำนาจในการที่จะวางนโยบายในการบริหารประเทศหรือสังคม อำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลเพื่อช่วยในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ อำนาจที่จะใช้ข้าราชการ งบประมาณหรือเครื่องมืออื่น ๆ ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ แนวการมองการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ (Power Approach) ดังที่ได้ยกตัวอย่างไปนี้ เป็นแนวทางการศึกษาหนึ่งที่ได้รับความนิยมชมชอบในหมู่นักรัฐศาสตร์และนัก สังคมศาสตร์ทั่วไป ที่เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องหรือมีบริบทเกี่ยวกับการใช้อำนาจเพื่อการ ปกครองประชาชน ก็มักให้คำนิยามของการเมืองว่าเป็นปฏิสัมพันธ์ในเชิงการใช้อำนาจของรัฐ าธิปัตย์ ต่อผู้อยู่ใต้อำนาจซึ่งก็คือประชาชนนั่นเอง โดยคำนิยามเช่นนี้ สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ออกมาจากสถาบันทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำหน้าที่ในการตรากฎหมายต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้ มาจากรัฐบาลในรูปของนโยบายสาธารณะ (Public Policies) โครงการพัฒนา (development program) และงานต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นหรือดำเนินไปโดยภาคราชการ รวมไปถึงการตัดสินคดีความหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลกับรัฐ จึงล้วนแต่เป็นเรื่องที่การเมืองส่งผลกระทบต่อนักศึกษาและบุคคลทั่วไป โดยบริบทดังกล่าวการศึกษาเรื่องการเมืองและการปกครองของประเทศ จึงเป็นสิ่งที่ถูกบรรจุอยู่ในแทบทุกสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษาให้นักศึกษาได้ ร่ำเรียน ทำความรู้ความเข้าใจในฐานะที่อย่างน้อยก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม และเป็นความรู้หนึ่งที่ประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยสมควรสั่งสมให้ แก่พลเมืองของรัฐ เพื่อประโยชน์เป็นพื้นฐานของการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย
นักรัฐศาสตร์บางท่านมองว่า แท้จริงนั้น การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องการต่อสู่แย่งชิงกันของกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) ที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ในอันที่จะแย่งชิงกันเข้าสู่อำนาจการบริหารประเทศ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ให้ผลผลิตจากระบบการเมือง (Political Outputs-ผลผลิตของระบบการเมือง เป็นคำศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ตามทัศนะของอีสตัน (David Easton) นักรัฐศาสตร์อเมริกัน ที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของแนวคิดทฤษฎีการเมืองเชิงระบบ (the Systems Theory) อันได้แก่ นโยบาย กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ โครงการหรือแผนงานพัฒนาของภาครัฐและภาคราชการ ซึ่งผลในทางที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มของตนมากที่สุด เราเรียกการวิเคราะห์การเมืองแนวทางนี้ว่าเป็น การวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งดูไปก็เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของแนวการมองการเมืองเชิงอำนาจที่จะกล่าวถึง ต่อไป ความหมายของการเมืองในมุมมองนี้ จึงเป็นว่า การเมืองการเมืองคือการที่บุคคลใดหรือกลุ่มใดในสังคม ซึ่งอาจมีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือขัดกันก็ตาม หรือมีความเห็นเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันก็ตาม มาทำการต่อสู้เพื่อสรรหาบุคคลมาทำหน้าที่ในการปกครองและเพื่อให้ได้มาซึ่ง อำนาจที่จะให้เขาสามารถตัดสินใจในเรื่องของส่วนรวมได้โดยชอบธรรม ซึ่งจัดเป็นแนวที่นักรัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมการเมือง (Political Scientist) นิยมกัน
กลุ่มที่สอง มองว่า การเมืองเป็นเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรของรัฐหรือสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม ดังเช่นมุมมองของอีสตัน (David Easton) ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า การเมือง เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในการจัดสรรแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าต่าง ๆ ให้กับสังคมอย่างชอบธรรม (The authoritative allocation of values to society) ความหมายของการเมืองดังที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นนิยามที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงจากสำนักพหุนิยม (Pluralism) อย่างไรก็ดี ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2535, 4-5) อธิบายว่า เราจะใช้ความหมายการเมืองดังกล่าวนี้ได้ก็ต่อเมื่อ ในสังคมนั้น ๆ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับผลกระทบจากทั้งทางตรงและทางอ้อม มีความเห็นพ้องต้องกันและยอมรับในกติกาที่กำหนดการใช้อำนาจเพื่อแบ่งปันสิ่ง ที่มีคุณค่าเท่านั้น ส่วนในสังคมที่ยังไม่มีความเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับกติกาการกำหนดสิ่งที่มี คุณค่าในสังคม ชัยอนันต์ อธิบายว่า การเมืองยังคงเป็นเรื่องของการแข่งขันกันเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการแบ่งปัน คุณค่าที่ให้ประโยชน์แก่ฝ่ายตนมากที่สุด เท่าที่จะเป็นได้ หรือ “The competition for the authority to determine the authoritative allocation of values to society” โดยนัยเช่นนี้ การเมืองจึงมีสองระดับ ระดับแรก การเมืองอยู่ภายใต้การแข่งขัน ขัดแย้งของฝ่ายต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองที่ทุก ๆ ฝ่ายยอมรับได้ ในขณะที่การเมืองในความหมายอย่างแรกดังทัศนะของนักคิดกลุ่มพหุนิยมที่ได้ กล่าวไปแล้ว ดูจะยอมรับในจุดเน้นว่ารัฐ เป็นการรวมกันหรือประกอบกันของกลุ่มหลากหลายในสังคม และรัฐมิได้เป็นเครื่องมือทางการบริหาร โดยที่มิได้เป็นตัวกระทำทางการเมือง (actors) ที่จะชี้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่รัฐเป็นเพียงรัฐบาล (State as government) ที่ทำหน้าที่เพียงเอื้ออำนวยความสะดวกในการแข่งขันกันของกลุ่มหลากหลายเท่า นั้น (ชัยอนันต์ สมุทวณิช 2535, 6)
นอกจากนี้ คำนิยามการเมืองในกลุ่มที่สอง ซึ่งได้รับการกล่าวถึงอย่างสูงยังได้แก่ ทัศนะของลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) ที่กล่าวว่า การเมือง เป็นเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลและผู้มีอิทธิพล และการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับว่า ใคร ทำอะไร เมื่อไร และอย่างไร (Politics is, who gets “What”, “When” and “How”)
กลุ่มที่สาม มองว่า การเมืองเป็นเรื่องของความขัดแย้ง ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรของชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่ผู้คนซึ่งต้องการใช้ทรัพยากรนั้นมีอยู่มากและความต้องการใช้ไม่มีขีด จำกัด การเมืองจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการที่คนในสังคมไม่อาจตกลงกันได้หรือ เกิดมีความขัดแย้งขึ้น อย่างไรก็ดี การมองการเมืองในลักษณะนี้มีข้อโต้แย้งอยู่มากว่า หากไม่อาจยุติข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ บ้านเมืองย่อมตกอยู่ในสภาวะยุ่งยากวุ่นวาย ต่อมาจึงมีผู้ให้มุมมองการเมืองใหม่ว่าเป็นเรื่องของการประนีประนอมความขัด แย้งมากว่าเป็นเรื่องของความขัดแย้ง
กลุ่มที่สี่ มองว่าการเมืองเป็นเรื่องของการประนีประนอมผลประโยชน์ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความขัดแย้งจากการดำเนินงานทางการเมืองที่ไม่มี ทางออก
กลุ่มที่ห้า ถือว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐและการบริหารประเทศในกิจกรรมหลัก 3 ด้านคือ งานที่เกี่ยวกับรัฐ การบริหารประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย และการอำนวยการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งเป็นการควบคุมให้มีการดำเนินงาน ตามนโยบาย ซึ่งหากพิจารณาให้ละเอียดแล้ว การเมืองโดยนัยยะความหมายประการนี้ เป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวกับการเมืองในความหมายเชิงอำนาจ ซึ่งก็เป็นเพราะอำนาจทางการเมืองนั้น ได้ถูกนำไปใช้ผ่านกระบวนการนโยบายและการแต่งตั้งคัดสรรผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ (ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ) ในรูปของอำนาจและการปฏิบัติงานทางการปกครอง และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและการบริหารหรือการปกครองที่ ยากจะแยกออกจากกันได้
กลุ่มที่หก การเมืองเป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายของรัฐ กล่าวคือ การเมืองคือกิจกรรมใดใดที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย หน่วยงานและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย โดยนัยหนึ่ง การเมืองก็คือกระบวนการกำหนดนโยบายของรัฐ นั่นเอง

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับรัฐศาสตร์

รัฐศาสตร์             
 รัฐศาสตร์ (อังกฤษ: political science) เป็นสาขาวิชาที่เกิดขึ้นในราวศตวรรษที่ 19 ซึ่งนักรัฐศาสตร์ยุคแรกนั้นพัฒนากระบวนวิชาขึ้นมาให้สอดคล้องกับแนวนิยมทางวิทยาศาสตร์ สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Britanica Concise Encyclopedia) อธิบายรัฐศาสตร์ว่า เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองและการเมืองด้วยแนวทางประจักษ์นิยม (empiricism) นักรัฐศาสตร์คือนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามแสวงหา และทำความเข้าใจธรรมชาติของการเมือง ส่วนพจนานุกรมการเมืองของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Dictionary of Politics) นิยามว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องรัฐ รัฐบาล/การปกครอง (government) หรือการเมือง
กล่าวอย่างรวบรัดรัฐศาสตร์เป็นวิชาในสายสังคมศาสตร์ สาขาหนึ่งซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็นสาขาต่างๆ อาทิ ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์การเมือง ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง ทฤษฎีการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง การบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารจัดการสาธารณะ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ การเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics), การพัฒนาการเมือง, สถาบันทางการเมือง , การเมืองระหว่างประเทศ การปกครองและการบริหารรัฐ (national politics), การเมืองการปกครองท้องถิ่น (local politics) เป็นต้น ซึ่งสาขาต่างๆเหล่านี้อาจแปรเปลี่ยนไปตามแต่ละสถาบันว่าจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร อย่างไรก็ตามหากจะเรียกว่าการจัดกระบวนวิชาใดนั้นเป็นรัฐศาสตร์หรือไม่ ก็ขึ้นกับว่าการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวใช้มโนทัศน์ "การเมือง" เป็นมโนทัศน์หลัก (crucial concept/key concept) หรือไม่ แต่โดยจารีตของกระบวนวิชา(scholar) นั้นรัฐศาสตร์ จะมีสาขาย่อยที่เป็นหลักอย่างน้อย 3 สาขาคือ สาขาการปกครอง (government), สาขาการบริหารกิจการสาธารณะ (public administration) และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (international relation)
ขอบเขตของการศึกษา
รัฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่มีมโนทํศน์หลักในการศึกษาคือการเมือง อย่างไรก็ตามความเข้าใจเรื่องนิยามของการเมืองระหว่างคนทั่วๆไป กับผู้ศึกษาวิชารัฐศาสตร์จะมีความแตกต่างกัน โดยทั่วไปนั้นสิ่งที่เรียกว่าการเมืองมักถูกเข้าใจว่าเป็นเรื่องกิจการของรัฐ, รัฐบาล, พรรคการเมือง หรือนักการเมืองเป็นหลัก แต่สำหรับผู้ศึกษารัฐศาสตร์นั้นจะมองการเมืองบนฐานของมโนทัศน์เรื่อง "อำนาจ" (power) เป็นหลัก
หนังสือความเข้าใจมโนทัศน์ "การเมือง" เบื้องต้น (Politics : the basic) ของสตีเฟน เทนซีย์ (Stephen D. Tansey) ได้อธิบายถึงความเข้าใจแง่มุมของ "การเมือง" ไว้ว่า ในแบบแคบ (narrowest sence) การเมืองเป็นเรื่องกิจกรรมต่างๆของรัฐบาล (What government do?) อาทิกฏหมาย, นโบายสาธารณะ เป็นต้น ส่วนในแบบกว้าง (wider sence) นั้นการเมืองจะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างมนุษย์ (Human's power relation) อาทิ จารีต, ประเพณี, วัฒนธรรม เป็นต้น ในปัจจุบันวิชารัฐศาสตร์ได้รับอิทธิพลการอธิบายการเมืองจากทางความคิดจากแนวคิดหลังสมัยใหม่ (postmodern) ที่เชื่อว่า การเมืองนั้นเป็นเรื่องของมนุษย์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาทุกเมือเชื่อวัน (the politics = everyday's life) และที่ใดมีอำนาจที่นั่นมีการเมือง
ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์สากล
สมัยกรีกโบราณ ถึงยุโรปสมัยกลาง (ศควรรษที่ 6 - 5 ก่อนคริตกาล - ราว ศตวรรษ ที่ 12 - 14)
จารีตของวิชารัฐศาสตร์ก็ไม่ต่างจารีตของวิชาที่วงวิชาการไทยรับสืบทอดมาจากวงวิชาการในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษคือจะกล่าวอ้างไปถึงงานปรัชญาของ เพลโต และ อริสโตเติล ว่าเป็นงานที่ศึกษารัฐศาสตร์ในยุคเริ่มแรก ทว่าหากกล่าวอย่างเคร่งครัดนั้นในยุคกรีกโบราณมิได้มีการศึกษารัฐศาสตร์ เพราะการศึกษาทุกอย่างของกรีกโบราณจะเรียกว่าเป็นการ "แสวงหามิตรภาพกับปัญญา" (philosophia ปัจจุบันแปลว่าปรัชญา ซึ่งใช้แทนกันเป็นการทั่วไป แต่โดยนัยที่เคร่งครัดแล้วมีความต่างกัน) อย่างไรก็ตามนักปรัชญากรีกโบราณโดยเฉพาะสายโสคราตีส, เพลโต และอริสโตเติลจะเชื่อว่า การศึกษาการเมืองคือเรื่องที่สำคัญที่สุด (politics is a master of science) การศึกษาปรัชญาโดยใช้การเมืองเป็นศูนย์กลางคือรากฐานของวิชาปรัชญาการเมือง และประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง
ในสมัยโรมันการศึกษาการเมืองไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก อย่างไรก็ตามมรดกทางความคิดที่สำคัญคือการสร้างระบบกฏหมายที่ต่อมากลายเป็นรากฐานที่สำคัญของวิชานิติศาสตร์ และระบบการบริหารจัดการสาธารณะรัฐที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของวิชาการบริหารจัดการสาธารณะ ผลงานที่สำคัญในยุคโรมันคืองานของซิเซโร
หลังสิ้นสุดยุครุ่งเรื่องของปรัชญากรีก และการล่มสลายของจักรวรรดิ์โรมัน (โรมันตอนต้นปกครองโดยสภาเรียกว่าสาธารณะรัฐ ส่วนในตอนปลายปกครองโดยจักพรรดิ์จึงเรียกว่าจักรวรรดิ์) ศาสนาคริสต์เข้ามามีอิทธิพลต่อวิธีชีวิตของชาวยุโรปในทุกเรื่อง การศึกษาการเมืองจึงเป็นไปเพื่ออธิบายความว่าเหตุใดมนุษย์ซึ่งเป็นคนบาปตามความเชื่อของศาสนานั้นสามารถปกครองกันเองได้อย่างไร และกษัตริย์มีอำนาจชอบธรรมจากพระเจ้าอย่างไรจึงสามารถปกครองคนบาปได้ ในขณะเดียวกันปรัชญากรีดโบราณได้เติบโตในโลกมุสลิมเป็นอย่างมาก มีการนำปรัชญากรีกไปร่วมอธิบายกับหลักปรัชญามุสลิม และใช้เป็นรากฐานของการจัดการปกครอง ปรัชญากรีกในโลกมุสลิมต่อมามีอิทธิพลอย่างสูงต่อยุโรป โดยเฉพาะแนวคิดมนุษย์นิยมที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของการปฎิวัติทางภูมิปัญญาในยุโรป (the age of enlightenment)
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการถึงสมัยใหม่ตอนต้น (ราวศตวรรษ ที่ 13 - 19)
การปฏิวัติทางความคิดทางศาสนาคริสต์ การเติบโตขึ้นของแนวคิดมนุษย์นิยม (humanism) ทำให้การศึกษาการเมืองในยุคนี้มีการพูดถึงการเมืองของมนุษย์มากขึ้น โดยปรากฏชัดในงานเขียนเรื่อง "เจ้าผู้ปกครอง" (the prince) ของมาคิอาเวลลี ที่สอนการปกครองอย่างตรงไปตรงมา และในบางเรื่องดูจะโหดร้าย และน่ารังเกียจหากมองด้วยสายตาของผู้ที่เคร่งครัดในจารีตทางความเชื่อแบบมีศีลมีธรรมแบบยุโร
การปฏิวัติทางความคิดวิทยาศาสตร์ยุคแรก (the scientific revolution) ส่งผลให้ในยุโรปเกิดกระแสการนำเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาศึกษาการเมือง โดยปรากฏอย่างชัดเจนในงานเรื่อง เลอไวธัน (Levithan) ของ ฮอบส์ ที่อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคมว่าไม่ต่างจากระบบกลไล ที่รัฐคือองคาพยพใหญ่ และมนุษย์คือฟันเฟือง ในขณะเดียวกันงานของรุสโซก็สร้างข้อถกเถียงที่สำคัญว่าการศึกษาการเมืองนั้นจะใช้วิทยาศาสตร์หรือปรัชญาดี อิทธิพลทางความคิดดังกล่าวกลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของแนวคิดทางการเมืองในยุคสมัยใหม่ตอนปลาย และช่วงสงครามเย็นนั่นคือ อุดมการณ์ทางการเมือง
 สมัยใหม่ตอนปลาย (ราวศตวรรษ ที่ 19 - 20)
เป็นยุคที่วิชา รัฐศาสตร์มีการศึกษาที่นำเอาวิทยาศาสตร์ เข้ามาช่วยศึกษา และเรียกการศึกษาการเมืองว่า "รัฐศาสตร์" (political science) เป็นครั้งแรก ในช่วงทศวรรษที่ 1960 โดยเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาซึ่งแต่เดิมมีการเรียนการสอนอยู่ในคณะประวัติศาสตร์ ซึ่งศาสตร์ตราจารย์คนแรกของวิชารัฐศาสตร์คือฟรานซ์ ลีแบร์ (Francis Lieber) นักปรัชญาอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน โดยดำรงตำแหน่งเป็นศาตราจารย์ประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
การศึกษาวิชาในยุควิทยาศาสตร์นี้ได้สร้างวิธีการศึกษาการเมืองขึ้นมา นั่นคือการศึกษาการเมืองผ่านการสร้าง ทฤษฎีการเมือง นักรัฐศาสตร์ที่เรียกตัวเองว่านักทฤษฎีการเมืองจะมองว่าทฤษฎี คือเครื่องมือในการทำความเข้าในสภาพการเมืองโดยรวม ซึ่งผลิตผลของการศึกษาทำความเข้าใจดังกล่าวจะได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์สร้างตัวแบบ (model) เพื่ออธิบายความจริง (fact) ที่เกิดขึ้น ในยุคนี้ยังเชื่อว่าการศึกษาการเมืองโดยใช้ปรัชญา และประวัติศาสตร์เป็นเรื่องพ้นสมัย การศึกษาการเมืองในยุคนี้จึงเน้นศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง แล้วนำมาวัดประเมินค่าในเชิงคณิตศาสตร์และสถิติ จึงเรียนรัฐศาสตร์ในยุคเริ่มแรกว่า สำนักพฤติกรรมศาสตร์ (behavioralism)
อย่างไรก็ตามในเวลาช่วง ทศวรรษที่ 1970 - 1980 นักรัฐศาสตร์จำนวนมากก็ตั้งข้อกังขาว่าการเมืองนั้นสามารถวัดค่าเป็นตัวเลขได้หรือไม่ การถกเถียงดังกล่าวเกิดในวงวิชาการอเมริกัน อันนำไปสู่การปฏิวัติการศึกษาการเมืองที่พยายามดึงเอาปรัชญา และประวัติศาสตร์กลับมาอีกครั้ง เรียกว่านักรัฐศาสตร์สายหลังพฤติกรรมศาสตร์ (post-behavioralism)
ปัจจุบัน
การศึกษารัฐศาสตร์ในปัจจุบันมี 2 กระแส กระแสแรกคือสายที่ยังศึกษาแนวพฤติกรรมศาสตร์ คือเชื่อมั่นว่าการศึกษาการเมืองผ่านตัวเลข และสถิติมีความมั่นคงเชื่อถือได้ ส่วนอีกกระแสคือสายที่พยายามกลับไปใช้ปรัชญา และประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษา รัฐศาสตร์ในปัจจุบันจึงมีลักษณะสาขาวิชาที่เป็นสหวิทยาการ (interdisciplinary) สูงมากสาขาวิชาหนึ่ง  อย่างไรก็ตามจากการที่ความคิดตระกูลหลังสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลต่อแวดวงวิชาการในทศวรรษที่ 1980 ทำให้วิชารัฐศาสตร์ก็หลีกหนีแนวนิยมนี้ไม่พ้น
ปัจจุบันการศึกษารัฐศาตร์มิได้จำกัดขอบเขตการศึกษาอยู่ที่อธิบายสถาบัน และกระบวนการสร้างสถาบันทางการเมือง ทั้งนี้ก็ด้วยความเข้าใจ การเมือง ที่เปลี่ยนแปรไป โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของตระกูลทางความคิดแบบหลังโครงสร้างนิยม (post – structuralism) หรือลัทธิหลังสมัยใหม่ โดยเฉพาะความคิดเรื่อง เทคโนโลยีแห่งอำนาจ (technologies of power)” ของมิแชล ฟูโกต์ นักคิดชาวฝรั่งเศส กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญเกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องอำนาจ และการศึกษาการเมือง ปัจจุบันการศึกษาการเมืองจึงไม่ต่างจากการศึกษาแทบทุกสิ่งทุกอย่างที่นักรัฐศาสตร์เห็นว่ามีปฏิบัติการณ์ทางอำนาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะหนังสือเรื่อง วินัย และ การลงโทษ : การกำเนิดขึ้นของเรือนจำ (Discipline and Punish: The Birth of the Prison)” ได้เสนอมุมมองใหม่ต่อสิ่งที่เรียกว่าการเมือง และอำนาจอย่างมหาศาล
 ประวัติการศึกษารัฐศาสตร์ของไทย
การศึกษาด้านรัฐศาสตร์ของไทยเริ่มต้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริจัดตั้ง โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน เพื่อรับคัดเลือกนักเรียนเข้ามาฝึกหัดเป็นข้าราชการตามกระทรวงต่าง ๆ (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) ต่อมาได้มีการขยายการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพัฒนาโรงเรียนดังกล่าวเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งภายหลังได้สถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากเหตุดังกล่าวนี้ การศึกษารัฐศาสตร์จึงเริ่มต้นขึ้น โดยคณะรัฐศาสตร์แห่งแรก คือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แห่งที่สอง คือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแห่งที่สาม คือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[ต้องการอ้างอิง]
ข้อสังเกตคือในยุคเริ่มแรกนั้นรัฐศาสตร์ไทยนั้นเน้นผลิตบัณฑิตเข้าสู่วงราชการ โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ซึ่งต่อมาจึงเป็นที่มาของการใช้ตราสิงห์เป็นสัญลักษณ์ของสาขาวิชา และอีกส่วนหนึ่งคือการเรียนการสอนรัฐศาสร์ไทยในยุคแรก อันที่จริงเป็นการเรียนการสอนวิชารัฐประศาสนศาสตร์เพื่อสร้างข้าราชการป้อนให้กับรัฐไทย หรือก็คือสอนวิชาบริหารจัดการสาธารณะภายได้ชื่อรัฐศาสตร์ทำให้ในเวลาต่อมาเกิดความสับสนในวงวิชาการว่ารัฐศาสตร์กับรัฐประศาสนศาสตร์นั้นมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร อย่างไรก็ตามในสังคมไทยมีการศึกษารัฐศาสตร์กระแสหนึ่งซึ่งเริ่มมีอิทธิพลขึ้นมากหลัง พ.ศ. 2526 เรียกว่ารัฐศาสตร์ทวนกระแส ซึ่งโดยภาพรวมก็ไม่ต่างแนวหลังพฤติกรรมศาสตร์ในตะวันตก