วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความรู้หลักการบริหารจัดการ

 ความรู้หลักการบริหารจัดการ
          การ บริหารงาน (Administration) แตกต่างกับ Management
          การบริหารงาน คือการดำเนินการในกิจการต่าง ๆ มีหน่วยงานหรือองค์การ ดำเนินการอำนวยงานให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลงานตามที่ต้องการ
          นักบริหาร หมายถึง ผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการและดำเนินการ หรือผู้รับผิดชอบต่อการดำเนินงาน หรือผู้วินิจฉัยชี้ขาดและสั่งงาน หรือผู้กำหนดแนวทางปฏิบัติงานขององค์กร
          การบริหารงาน เป็นทั้งศาสตร์และศิลป
          การบริหารรัฐกิจ เหมือนกับ การบริหารธุรกิจ ในเรื่องของกระบวนการปฏิบัติงาน แต่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานไม่เหมือนกัน
          กระบวนการบริหาร Gulic และ Unwick ได้กล่าวถึงกระบวนการบริหาร ซึ่งเรียกว่า POSDCORB ในหนังสือ Paper on the Sciences of Administration (1957) ซึ่งประกอบด้วย
          P        =       Planning                   การวางแผน
          O        =        Organizing                 การจัดองค์การ
          S        =        Staffing          การสรรหาคนเข้าทำงาน
          D        =        Directing                   การอำนวยการ
          CO      =        Coordinating              การประสานงาน
          R        =        Reporting                  การรายงาน
          B        =        Budgeting                 การงบประมาณ
          ทรัพยากรทางการบริหาร มีอยู่ 4 ประการ คือ คน (Men) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ (Material) การ จัดการ (Management) หรือเรียกสั้นๆ ว่า 4M’s
          William T Greenwood เห็นว่าทรัพยากรบริหาร ควรจะมีอย่างน้อย 7 ประการ คือ คน (Men) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ (Material) อำนาจ หน้าที่ (Authority)   เวลา (Time) กำลังใจในการทำงาน (Will) ความ สะดวกต่าง ๆ (Facilities)
          ปัจจัย ในการบริหารธุรกิจ 6 ประการ คือ คน (Men) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ (Material) วิธีการ (Method) ตลาด (Market)  เครื่องจักร (Machine)
          ประสิทธิภาพในการบริหารงาน หมายถึงความสามารถของการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบาย ภายใต้เงื่อนไขทางทรัพยากรที่มีอยู่
          เทคนิคการบริหารงาน สื่อความเข้าใจ (ด้วยถ้อยคำภาษา เช่น พูด เขียน หรือไม่ใช้ถ้อยคำ เช่น เครื่องหมายและสัญญาณ) มีการจูงใจ การวินิจฉัยสั่งการ (โดยสามัญสำนึกหรือเหตุผล)
          กระบวนการวินิจฉัยสั่งการ
          -พิจารณาปัญหา                                                POLICY   =   นโยบาย
          -เลือก แนวทางแก้ไขปัญหา                                    AUTHORITY = อำนาจหน้าที่
          -วิเคราะห์แนวทางแก้ไข
          -พิจารณาผลดีผลเสีย
          -ดำเนินการและวิธีปฏิบัติ
          ข้อจำกัดในการบริหาร ประกอบด้วย ฐานะและสภาพภูมิศาสตร์ ประชากร ทรัพยากร ลักษณะนิสัยและความสามารถของคน ความเชื่อถือและศรัทธา ขนบธรรมเนียมและประเพณี

นโยบายสาธารณะ

หมายถึง แนวทางที่รัฐบาลกำหนดว่าจะทำหรือไม่กระทำ และได้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติในสิ่งนั้น ๆ ด้วย
          ทฤษฎีที่เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
          1.ทฤษฎีสถาบัน (Institutionalism) ทฤษฎี นี้บอกว่า นโยบายสาธารณะนั้นเป็นผลมาจากสถาบันการปกครองของรัฐ
          2.ทฤษฎี กลุ่ม (Group Theory) ทฤษฎี นี้กล่าวว่า นโยบายสาธารณะเป็นผลมาจากการต่อสู้หรือการประนีประนอมระหว่างกลุ่มผล ประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคม
          3.ทฤษฎีระบบ (System Theory) ของ Devid Easton ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ระบบการเมืองเป็นผลของกระบวนการ ซึ่งมี Input  คือ Demand และ Support   ต่าง ๆ เข้าไปใน  Conversion Process
แล้วจะได้ Output  แต่อย่างไรก็ตาม จะมีสภาพแวดล้อม  (Environment) อยู่ล้อมรอบเพื่อทำให้  Feed back ออกมาเป็น Input ใหม่
          4.ทฤษฎีชนชั้นนำ (Elite Theory) ทฤษฎีนี้มองว่าชนชั้นนำ เท่านั้น เป็นผู้กำหนดนโยบายเพราะประชาชนทั่วไปไม่สนใจ และไม่มีความรู้เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
          รูปแบบการตัดสินใจวินิจฉัยนโยบายสาธารณะ มี 3 รูปแบบ คือ
          1.แบบใช้หลักสมเหตุสมผล เป็นการตัดสินใจวินิจฉัยโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
          2.แบบใช้หลักส่วนเพิ่มขึ้น มีแนวคิดว่า การตัดสินใจวินิจฉัยโดยทั่วไปมักมีลักษณะอนุรักษ์นิยม โดยต้องอาศัยการตัดสินวินิจฉัยครั้งก่อน ๆ เป็นหลักยึดอยู่ การตัดสินใจครั้งใหม่จึงต้องเป็นเรื่องของการปรับปรุงแก้ไขการตัดสินใจที่ เคยทำมาก่อน
          3.แบบใช้หลักผสมกลั่นกรอง เป็นการตัดสินวินิจฉัยโดยการผสมกลั่นกรองระหว่างลักษณะของการใช้หลักสมเหตุ สมผลกับใช้หลักส่วนเพิ่ม
          แนว นโยบายสาธารณะจะปรากฏในเอกสาร รัฐธรรมนูญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น